ปั๊มดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลมักใช้ในกรณีที่มีพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอหรือต้องการเสถียรภาพในการเดินเครื่องใช้งาน หากใช้งานร่วมกับ electric fire pump จะเป็นระบบที่มีเสถียรภาพที่สุด Engine fire pump หรือชุดปั๊มดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่ออกแบบและติดตั้งอย่างเหมาะสมจะมีความสามารถและสมรรถนะที่ดีเพียงพอในการระงับเหตุเพลิงไหม้
อย่างไรก็ตาม Engine fire pump มีความต้องการการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (pm fire pump) เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยอื่น ๆ โดยการ pm fire pump ควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐาน NFPA25 กล่าวคือควร pm fire pump ให้ครอบคลุมส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการหล่อลื่นเครื่องยนต์, ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง,ระบบการไหลเวียนของอากาศ,ระบบแบตเตอรี่,ระบบระบายความร้อนและการ pm fire pump ในอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ตามความจำเป็น
ระบบการหล่อลื่นเครื่องยนต์
Engine Fire Pump เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการขับปั๊มน้ำดับเพลิง ทั้งนี้เครื่องยนต์ที่นำมาใช้ต้องได้รับการออกแบบมาให้เหมาะกับ fire pump ตัวนั้น ๆ กล่าวคือต้องมีความเร็วรอบและแรงม้าไม่น้อยกว่าค่าที่ระบุไว้ตาม Nameplate fire pump
มาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.17-18 ได้แนะนำให้ดำเนินการ pm fire pump โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องทุก ๆ 50 ชั่วโมงหรือทุกปี เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถสร้างกำลัง (kW/HP) ได้ตาม Engine Specification
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
Diesel Engine Driven ที่นำมาใช้เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) ซึ่งกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ต้องการส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศเข้าผสมกันในห้องเผาไหม้และเกิดการจุดระเบิด เพื่อสร้างกำลังงานออกทาง Main Shaft และขับเคลื่อน fire pump สำหรับการสูบน้ำดับเพลิง
การสร้างกำลังจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อมีการควบคุมปริมาณของเชื้อเพลิงและอากาศได้เหมาะสมที่สุด (Air/Fuel Ratio) และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จะต้องมีคุณภาพที่ดี กรองน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองดักน้ำ (Fuel Filter and Fuel Separator) จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการกรองน้ำ,สิ่งสกปรกหรือเศษตะกอนในน้ำมันเพื่อให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงสุด
มาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.19 ได้แนะนำให้ดำเนินการ pm fire pump โดยการเปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทุก ๆ 50 ชั่วโมงหรือทุกปี เพื่อให้เชื้อเพลิงที่จ่ายเข้าสู่ปั๊มหัวฉีดน้ำมันมีคุณภาพสูงสุดและเพื่อให้เครื่องยนต์เกิดการสันดาปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
เปลี่ยนกรองดักน้ำ
ระบบการไหลเวียนของอากาศ
กระบวนการสันดาปของ Engine fire pump จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพของอากาศเผาไหม้อย่างเหมาะสม กรองอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ เพื่อกรองหรือดักฝุ่นผงและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าสู่เครื่องยนต์
อย่างไรก็ตาม กรองอากาศ เมื่อใช้งานไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง มักเกิดการอุดตันและจะอุดตันหรือเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้นหาก Engine fire pump ติดตั้งในบริเวณที่มีฝุ่นผงเป็นจำนวนมาก อาการผิดปกติที่พบได้ของ Engine fire pump ที่มีสาเหตุมาจากกรองอากาศอุดตันหรือเสื่อมสภาพ เช่น ควันไอเสียมีสีดำตลอดช่วงเวลาทำงาน, เครื่องยนต์มีอาการสั่นอย่างมากและอัตราการใช้เชื้อเพลิงมากผิดปกติ
ข้อพิจารณาเพิ่มเติม :
ประสิทธิภาพการเผาไหม้ คือ อัตราส่วนระหว่าง พลังงานที่ได้ออกมาจริงจากส่วนผสมของน้ำมันและอากาศ กับ พลังงานที่ควรจะได้จากส่วนผสมเดียวกันเมื่อเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์
พลังงานที่ไม่ปลดปล่อยออกมาเนื่องจากการเผาไหม้แล้วได้ก๊าซ Carbon monoxide (CO) และก๊าซ Hydrogen (H2) ซึ่ง CO และ H2 จะเกิดขึ้นเมื่อสัดส่วนของน้ำมันและอากาศไม่เหมาะสม
การ pm fire pump ในส่วนของกรองอากาศ จึงควรดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ โดยการทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่หากพบว่าอุปกรณ์เสื่อมสภาพ ซึ่งการ pm fire pump ในส่วนของกรองอากาศ นอกจากจะทำให้ Engine fire pump เกิดการสันดาปอย่างสมบูรณ์, ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องยนต์แล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษของอากาศจากการลดการปลดปล่อยก๊าซ Carbon monoxide (CO)
ทำความสะอาด / เปลี่ยนกรองอากาศ
ระบบแบตเตอรี่
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์จัดเก็บและจ่ายกระแสไฟฟ้า สำหรับใช้ในการสตาร์ท Engine fire pump โดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ไดร์สตาร์ท (Dynamo Starter) เพื่อให้เครื่องยนต์ติด ภายในแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยแผ่นโลหะที่เป็นขั้วบวกและขั้วลบ โดยอยู่ในสารละลาย Electrolyte ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยาเคมีกับโลหะจะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น
การตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่สามารถตรวจวัดได้หลายตัวแปร เช่น วัดค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) , วัดค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) และการวัดค่า Cold Cranking Ampere (CCA)
หากพิจารณาในส่วนของกำลังไฟฟ้าสำหรับการสตาร์ท Engine fire pump สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือการวัดค่า CCA ซึ่งปกติค่า CCA ที่วัดได้จากแบตเตอรี่ลูกที่ใช้งานไม่ควรมีค่าต่ำกว่า 25% เมื่อเทียบกับค่า CCA Rating ของแบตเตอรี่ตัวนั้น ๆ
วัดค่า Cold Cranking Amp (CCA) แบตเตอรี่
มาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.15 ได้แนะนำให้ดำเนินการ pm fire pump ในส่วนของ แบตเตอรี่ โดยการทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่และเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่หากพบว่าอยู่ในระดับที่ต่ำและไม่ท่วมแผ่นธาตุ
เติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่และทาจารบีหล่อลื่น
ระบบระบายความร้อน
ส่วนประกอบของ Engine fire pump ได้แก่ เสื้อสูบ ฝาสูบ ลูกสูบและลิ้นปิด-เปิดต่าง ๆ โดยปกติจะมีความร้อนสูงขณะทำงาน จึงต้องมีการระบายความร้อนที่ดีเพียงพอเพื่อให้ Engine fire pump สามารถทำงานได้ตลอดช่วงระยะเวลาการทำงาน
ระบบระบายความร้อนของ Engine fire pump ที่นิยมใช้มี 2 ประเภทได้แก่ การระบายความร้อนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) และการระบายความร้อนผ่านหม้อน้ำแบบรังผึ้ง (Radiator) ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายความร้อนแต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาพการใช้งานของปั๊มน้ำดับเพลิงในแต่ละเครื่อง
น้ำยาหล่อเย็นที่ใช้เติมในระบบระบายความร้อนของ Engine fire pump เพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำยาหล่อเย็นจะมีจุดเดือดที่สูงกว่าน้ำ จึงเกิดการระเหยตัวได้ยาก ทำให้สามารถระบายความร้อนได้มากขึ้น และข้อดีของน้ำยาหล่อเย็นคือจะรักษาสภาพกรด-ด่างในน้ำระบายความร้อนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทำให้ลดการเกิดตะกรัน ลดปัญหาการอุดตัน ป้องกันการเกิดสนิม และป้องกันการกัดกร่อนในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์
การ pm fire pump ในส่วนของระบบระบายความร้อนที่ผู้ดูแลระบบปั๊มดับเพลิงควรจัดทำแผนการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น engine fire pump ทุกปี เนื่องจากน้ำยาหล่อเย็นที่ไหลเวียนภายในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์จะเกิดการชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ และจะเกิดการสะสมตัวของสิ่งสกปรก ทำให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง
เปลี่ยนถ่ายน้ำระบายความร้อนและเติมน้ำยาหล่อเย็น
การ pm fire pump ของระบบระบายความร้อนตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.21 ได้แนะนำให้ดำเนินการ เปลี่ยน Circulating water filter (กรอง Y-Strainer ของ Cooling Line) ปีละ 1 ครั้ง หรือหากตรวจสอบแล้วพบว่ายังมีสภาพที่ดีก็ใช้วิธีการล้างทำความสะอาดได้
ทำความสะอาด Y-Strainer Cooling Line
เปลี่ยน Y-Strainer Cooling Line หากพบว่าชำรุด
ข้อพิจารณาเพิ่มเติม :
ระบบระบายความร้อนชนิด Heat Exchanger ซึ่งปกติจะมีการติดตั้งเกจวัดความดันของน้ำที่ใช้ในการไหลเวียนเพื่อรับความร้อนจาก Engine fire pump โดยค่าความดันปกติจะอยู่ระหว่าง 30 – 60 psi หากค่าความดันอยู่นอกเหนือจากนี้ สาเหตุอาจเกิดจากการปรับตั้ง Regulator ไม่เหมาะสมหรือ Regulator ชำรุด
pm fire pump ในอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
engine fire pump ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายส่วนโดยประกอบด้วย Main Equipment และ Auxiliary Equipment ซึ่งอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ (Auxiliary Equipment) ในระบบ Engine fire pump ควรได้รับการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเช่นเดียวกับ Main Equipment
ทำความสะอาด Engine fire pump
การทำความสะอาดเครื่องยนต์เป็นกิจกรรมที่ควรดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นผงสะสมตัวอยู่บริเวณซอกต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ซึ่งฝุ่นผงที่สะสมตัวอยู่นี้อาจหลุดรอดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ทำให้เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนของ Engine fire pump และเป็นการช่วยลดการอุดตันของกรองอากาศได้อีกทาง
ทำความสะอาดเครื่องยนต์
pm fire pump เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์
สายพานเครื่องยนต์ ควรได้รับการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเสื่อมสภาพควรดำเนินการเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากสายพานเครื่องยนต์มีหน้าที่ ในการส่งถ่ายกำลังจาก Engine fire pump ไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ไดร์ชาร์จ, ปั๊มน้ำในระบบระบายความร้อน เป็นต้น
เปลี่ยนสายพาน Engine fire pump
pm fire pump ส่วนของ Engine Box
การเดินเครื่องทดสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงประจำสัปดาห์ (fire pump weekly testing) สิ่งที่ผู้ดูแลระบบต้องคอยตรวจสอบและบันทึกค่าคือการตรวจสอบ ความเร็วรอบ, ความดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์จากเกจวัดค่าต่าง ๆ ที่มักติดตั้งไว้บริเวณ Engine Box หรือ Engine Controller
หลายครั้งที่เรามักพบว่า เกจวัดค่าต่าง ๆ ที่ Engine Box ไม่แสดงค่าหรือแสดงค่าแต่มีความคลาดเคลื่อนไปมาก ซึ่งการ pm fire pump ในส่วนของ Engine Box เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าอุปกรณ์ชำรุดควรดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
เปลี่ยน Magnetic Pick Up และ Tachometer
Flexible Hose ของเครื่องยนต์
ท่อยางหรือ Flexible Hose เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่ถูกติดตั้งบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ในระบบหมุนเวียนของน้ำระบายความร้อน, ระบบไหลเวียนอากาศและระบบน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งวัสดุยางสังเคราะห์ที่ใช้ผลิต Flexible Hose จะมีอายุการใช้งานตามสภาพพื้นที่ติดตั้งของระบบ fire pump
ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.11 ได้แนะนำให้ตรวจสอบสภาพของ Flexible Hose และ Connecting ต่าง ๆ ทุกสัปดาห์ ซึ่งต้องไม่พบการรั่วซึมหรือแตกร้าว หากพบว่าเสื่อมสภาพหรือชำรุด ควรดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
เปลี่ยน Flexible Hose ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์
ข้อแนะนำ : การบำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบ fire pump (pm fire pump) ควรดำเนินการควบคู่กับการตรวจสอบระบบ fire pump
รายละเอียดการตรวจสอบ Fire Pump
ตามมาตรฐาน NFPA 25