Logo Engineering Innovation Auditor

065-0938905
      tcharoen96@gmail.com

35/455 ซอยประเสริฐมนูกิจ 48 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240

ตรวจระบบดับเพลิง

ตรวจสอบระบบดับเพลิง

ระบบดับเพลิงประกอบด้วยตู้ดับเพลิง (Fire Hose Cabinet) , ระบบสปริงเกอร์ดับเพลิง (Sprinkler System) , Alarm Valve , Pre-action System, Deluge Systems ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบดับเพลิง ที่ควรได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในยามที่ต้องการใช้งาน อุปกรณ์ในระบบดับเพลิงจะมีความพร้อมและสมรรถนะเพียงพอที่ใช้ในการดับเพลิงตามเจตนารมณ์ที่ได้ออกแบบไว้

ตรวจสอบระบบดับเพลิง

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NFPA) ได้กำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบระบบดับเพลิงและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบดับเพลิง ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

NFPA คือ

สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรที่มีภารกิจในการจัดทำมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาจากการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากเพลิงไหม้,ระบบไฟฟ้าและอันตรายอื่น ๆ ซึ่งมาตรฐาน NFPA ที่เป็นที่รู้จักในงานระบบดับเพลิงได้แก่ NFPA 13,NFPA 14,NFPA 20 และNFPA 25

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.nfpa.org

สำหรับในประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2552 และกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2555 สำหรับบังคับใช้กับสถานประกอบการ ซึ่งได้กำหนดให้สถานประกอบการที่มีการติดตั้งระบบดับเพลิงต้องมีการตรวจสอบระบบดับเพลิงตามช่วงเวลาที่เหมาะสม


จากความสำคัญดังกล่าว บริษัท เอ็นจิเนียริ่ง อินโนเวชั่น ออดิเตอร์ จำกัด จึงเปิดให้บริการงานตรวจสอบระบบดับเพลิง เพื่อให้อุปกรณ์ในระบบดับเพลิงอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ด้วยทีมวิศวกรประสบการณ์ตรง โดยมีขอบเขตในการตรวจสอบระบบดับเพลิงดังนี้

สารบัญเนื้อหา

ตรวจสอบระบบดับเพลิง ตู้ดับเพลิง (Fire Hose Cabinet)

หากกล่าวถึงตู้ดับเพลิง ระบบท่อยืนและสายฉีดน้ำดับเพลิง ได้ถูกกำหนดประเภทการใช้งานตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ไว้ดังนี้

➤ ประเภทที่ 1 (Class I) เป็นตู้ดับเพลิงที่มีการติดตั้งวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้ว สำหรับพนักงานดับเพลิงหรือผู้ที่ผ่านการฝึกการใช้งานมาเท่านั้น
➤ ประเภทที่ 2 (Class II) เป็นตู้ดับเพลิงที่มีการติดตั้งชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 1-1.5 นิ้ว สำหรับผู้ใช้อาคารเพื่อใช้ในการดับเพลิงไหม้ขั้นต้น (ชนิด Hose Reel หรือ Hose Rack)
➤ ประเภทที่ 3 (Class III) เป็นตู้ดับเพลิงที่มีการติดตั้งวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้วและชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 1-1.5 นิ้ว หรือเป็นการรวมตู้ดับเพลิง Class I และ Class II เข้าไว้ด้วยกัน

การตรวจสอบระบบดับเพลิง ตู้ดับเพลิง เป็นกระบวนการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ประกอบภายในตู้ดับเพลิงและสภาพความพร้อมใช้งาน โดยมีรายละเอียดในการตรวจสอบดังนี้

➤ ตรวจสอบตู้เก็บอุปกรณ์ (Cabinet)
➤ ตรวจสอบสายฉีดน้ำดับเพลิงชนิดพับหรือชนิดม้วน (Hose Rack / Hose Reel)
➤ ตรวจสอบหัวฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Nozzle)

ตู้ดับเพลิง

➤ ตรวจสอบวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Valve)
➤ ตรวจสอบจุดต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Connector)
➤ ทดสอบสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Test)

วาล์วน้ำดับเพลิง


Alarm Valve

วาล์วสัญญาณ หรือ Alarm Valve เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบท่อเปียก (Wet Pipe) หรือระบบที่มีน้ำอยู่เต็มและมีแรงดันของน้ำภายในท่อ หากแรงดันในท่อลดลง เช่น หัว Sprinkler แตก Alarm Valve จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงผ่านการทำงานของชุด Alarm Gong พร้อมส่งสัญญาณแจ้งเหตุไปยังระบบควบคุมหรือระบบ Fire Alarm



ระบบ Alarm Valve เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เน้นให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้อาคารเป็นหลัก เช่น อาคารสำนักงาน, โกดังเก็บสินค้าทั่วไปและโรงแรม เป็นต้น เนื่องจากเป็นระบบปิดที่มีน้ำอยู่เต็มท่อ ทำให้เกิดการตอบสนองต่อเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็ว โดยขอบเขตของการตรวจสอบระบบดับเพลิงชนิด Alarm Valve มีรายละเอียดดังนี้

➤ ตรวจสอบการทำงานมาตรวัดความดัน (Pressure Gauge)
➤ ตรวจสอบการทำงานวาล์วระบายน้ำหลัก (Main Drain Valve)
➤ ตรวจสอบการทำงานวาล์วระบายน้ำสถานีทดสอบ (Station Drain Valve)
➤ ตรวจสอบการทำงานวาล์วสัญญาณเตือนภัย (Alarm Valve)

Alarm Gong

➤ ตรวจสอบการทำงานระฆังน้ำ (Alarm Gong)
➤ ตรวจสอบสวิตช์ตรวจจับการไหลของน้ำ (Flow Switch)
➤ ตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งสถานะเปิด-ปิดวาล์ว (Supervisory Switch)
➤ ตรวจสอบการเชื่อมโยงระหว่างแผงคุมและการแสดงผลกับอุปกรณ์ในระบบ (Graphic Annunciator)

Graphic Annunciator

Pre-action System

ระบบดับเพลิงชนิด Pre-action System หรือระบบท่อแห้งแบบชะลอน้ำ เป็นระบบที่ภายในท่อจะถูกบรรจุด้วยลมที่มีความดันที่เหมาะสม เมื่อเกิดเพลิงไหม้จนทำให้หัว Sprinkler แตก ความดันภายในระบบจะลดลง แต่น้ำจะยังไม่ปล่อยไปยังหัว Sprinkler ทันที เนื่องจากต้องรอให้อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ เช่น Smoke Detector จับสัญญาณได้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะส่งน้ำไปยังหัว Sprinkler

Pre-action System

ระบบชนิดนี้ วาล์วน้ำจะถูกเปิดโดยสัญญาณจากอุปกรณ์ Automatic Fire Detector เช่น Smoke Detector ไม่ได้เปิดวาล์วน้ำจากการแตกของหัว Sprinkler ทั้งนี้เพื่อเป็นการชะรอระยะเวลาการโปรยน้ำไปยังพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้เข้าระงับเหตุเบื้องต้นก่อน หากดับเพลิงได้ทันก็สามารถปิดระบบก่อนได้ ทำให้ทรัพย์สินไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสน้ำ

Pre-action System จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่เน้นการปกป้องทรัพย์สิน เช่น อาคารที่จัดเก็บสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เช่น ห้างสรรพสิน, Warehouse หรือห้องเก็บน้ำมัน เป็นต้น โดยการดำเนินการตรวจสอบระบบดับเพลิง ชนิด Pre-action System ครอบคลุมรายละเอียดดังนี้

➤ ตรวจสอบสภาพภายนอกของ Pre-action Valve และรอยรั่วบริเวณข้อต่อต่าง ๆ
➤ ตรวจสอบการทำงานมาตรวัดความดันระบบน้ำ (Water Pressure Gauge)
➤ ตรวจสอบการทำงานมาตรวัดความดันระบบลมอัด (Air Pressure Gauge)
➤ ตรวจสอบการทำงานวาล์วระบายน้ำหลัก (Main Drain Valve)
➤ ทดสอบ Alarm Test
➤ ทดสอบ Water Level and Low-Air Alarm test
➤ ทดสอบ Partial Operational Trip test
➤ ทดสอบ Full Operational Trip test
➤ ตรวจสอบการเชื่อมโยงระหว่างแผงคุมและการแสดงผลกับอุปกรณ์ในระบบ (Graphic Annunciator)

pre-action system testing procedure

Deluge Systems

ระบบดับเพลิงแบบ Deluge เป็นระบบดับชนิดท่อแห้งที่ใช้งานร่วมกับ Open Sprinkler หรือ สปริงเกอร์หัวเปิดและ ทำงานร่วมกับ Detection device เช่น Heat Detector หรือ Smoke Detector โดยสัญญาณจาก Detection Device จะมาเปิด Deluge Valve ทำให้น้ำไหลไปยัง Open Sprinkler และ Spray น้ำพร้อมกันทุก ๆ หัวในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้

Deluge System จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่กว้างมากนัก เนื่องจากการ Spray น้ำจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดพร้อม ๆ กัน เช่น ลานหม้อแปลง โรงเก็บเครื่องบิน หรือ พื้นที่ที่ต้องการกั้นแยกการติดไฟ เป็นต้น โดยการดำเนินการตรวจสอบระบบดับเพลิง ชนิด Deluge System ครอบคลุมรายละเอียดดังนี้

➤ ตรวจสอบสภาพภายนอกของ Deluge Valve และรอยรั่วบริเวณข้อต่อต่าง ๆ
➤ ตรวจสอบการทำงานมาตรวัดความดันระบบน้ำ (Water Pressure Gauge)
➤ ตรวจสอบการทำงานวาล์วระบายน้ำหลัก (Main Drain Valve)
➤ ทดสอบ Alarm Test
➤ ทดสอบ Water Level
➤ ทดสอบ Partial Operational Trip test
➤ ทดสอบ Full Operational Trip test
➤ ตรวจสอบการเชื่อมโยงระหว่างแผงคุมและการแสดงผลกับอุปกรณ์ในระบบ (Graphic Annunciator)

ที่มา : https://www.victaulic.com

แรงดันน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน

ท่อยืนและหัวฉีดน้ำดับเพลิง เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญในระบบดับเพลิง ที่ควรได้รับการตรวจสอบให้สอดคล้องตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และมาตรฐานสากล NFPA ด้วยการทดสอบแรงดันน้ำตามมาตรฐานแรงดันน้ำดับเพลิง ณ จุดไกลสุดที่สายฉีดน้ำดับเพลิงสามารถไปถึง เพื่อให้แน่ใจว่า ณ ตำแหน่งไกลสุด น้ำดับเพลิงยังคงมีความดันและอัตราการไหลเพียงพอตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยการตรวจสอบระบบดับเพลิง มีรายละเอียดดังนี้

➤ ตรวจวัดความดันขณะน้ำไหล (Residual Pressure Test)
➤ ตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำ (Flowrate Test)


ขั้นตอนการตรวจสอบระบบดับเพลิงทดสอบแรงดันน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน

1. ติดตั้งเครื่องมือวัดชนิด Line Gauge ,Little Hose Monster ,Flow Nozzle พร้อมต่อสายดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้ว เพื่อวัดความดัน Residual และอัตราการไหลที่ตำแหน่งหัวต่อสายดับเพลิงบริเวณตำแหน่งไกลสุดของระบบดับเพลิง

2. ต่อสายดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้วจำนวน 1 เส้นเพื่อปล่อยน้ำดับเพลิงออกจากระบบ

มาตรฐานแรงดันน้ำดับเพลิง

แรงดันน้ำ
3. เดินเครื่องสูบน้ำดับเพลิงให้น้ำเข้าระบบท่อน้ำดับเพลิง
4. บันทึกผลการทดสอบ Residual Pressure และ Velocity Pressure เพื่อใช้คำนวณอัตราการไหลตามวิธีการของผลิตภัณฑ์

ทดสอบแรงดันน้ำ

flow testing fire hydrants



ทางบริษัท ฯ ใช้เครื่องมือวัดในการตรวจสอบระบบดับเพลิง วัดแรงดันน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ตำแหน่งไกลสุดยี่ห้อ Hose Monster ที่ได้รับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ FM Approved

ดูรายละเอียดเครื่องมือวัด

flow testing equipment

รายละเอียดเพิ่มเติม :
Hose Monster เป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1993 (เดิมชื่อบริษัท Hydro Flow Products, Inc. ) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทที่จำหน่ายอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิง ผลิตภัณฑ์จาก Hose Monster เป็นที่ยอมรับในระดับโลก แม้กระทั่ง NFPA หลาย ๆ CODE เช่น NFPA 20 และ NFPA 25 ก็ได้มีการกล่าวถึงเครื่องมือวัดจากบริษัทแห่งนี้

เครื่องมือวัดที่เป็นเรือธงของบริษัทนี้คือชุดวัดอัตราการไหลในชื่อ “BIG BOY HOSE MONSTER” และ “LITTLE HOSE MONSTER” ซึ่งได้มีการคิดค้นเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบระบบดับเพลิง ตรวจวัดความดันและอัตราการไหลของน้ำ ผู้ใช้สามารถวัดความดันและอัตราการไหลได้อย่างแม่นยำและลดความผิดพลาดจาก Human Error เมื่อเทียบกับการวัดโดยใช้เครื่องวัดชนิด Pitot tube

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://hosemonster.com

Hose monster company

Add Line กดเพื่อโทรหาเรา


5. วิเคราะห์ผลการทดสอบ

เมื่อได้ข้อมูลจากการตรวจสอบระบบดับเพลิง โดยการตรวจวัด ค่า Residual Pressure ที่ได้จะนำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ส่วนค่า Velocity Pressure จะนำไปคำนวณอัตราการไหลตามหลักการของ Fluid Mechanics โดยใช้สมการที่ได้พัฒนาจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

ค่ามาตรฐานจากการตรวจสอบระบบดับเพลิงทดสอบแรงดันน้ำตามมาตรฐาน

ตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วสท.3002-51 หัวข้อ 5.6.7.3.1 ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำหรับท่อยืนประเภทที่ 1 และประเภทที่ 3 ในกรณีที่ขนาดของท่อยืนได้มาจากการคำนวณตามหลักการกลศาสตร์ของไหล ความดันที่จุดหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงที่อยู่ไกลที่สุดจะต้องมีความดัน 65 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ด้วยอัตราการไหลของน้ำ 500 แกลลอนต่อนาที ออกจากหัวฉีดอย่างน้อย 2 หัว โดยอัตราการไหลในแต่ละหัวฉีดควรได้ไม่น้อยกว่า 250 แกลลอนต่อนาที ดังนั้น ค่าที่ได้จากการตรวจสอบระบบดับเพลิง ทดสอบแรงดันน้ำตามมาตรฐานแรงดันน้ำดับเพลิงจะนำมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน วสท.3002-51 ตามรายละเอียดข้างต้น

การคำนวณอัตราการไหลการส่งจ่ายน้ำของหัวฉีดน้ำดับเพลิง

ในการตรวจสอบระบบดับเพลิง โดยการทดสอบอัตราการไหลผ่านชุดวัด Pitotless Nozzle ค่าความดันที่ได้จากการทดสอบซึ่งเรียกว่า Velocity Pressure จะถูกนำไปคำนวณเป็นอัตราการไหลตามวิธีการของผลิตภัณฑ์ตามสมการดังนี้

Q = k√P

เมื่อ Q = อัตราการไหลผ่านหัวฉีดน้ำดับเพลิง
K = Factor of flow Device
P = Velocity Pressure

coefficient factor

ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าที่ได้จากการตรวจสอบระบบดับเพลิง ทดสอบแรงดันน้ำตามมาตรฐานแรงดันน้ำดับเพลิง

จากการตรวจสอบระบบดับเพลิง โดยการตรวจวัดแรงดันน้ำที่ตำแหน่งไกลสุดของระบบดับเพลิงของอาคารแห่งหนึ่ง โดยใช้ชุดวัดความดันและอัตราการไหลชนิด Pitotless Nozzle และได้บันทึกผลการตรวจสอบระบบดับเพลิงตามรายละเอียดดังนี้

- Residual Pressure เท่ากับ 90 PSI

Pressure Testing
- Velocity Pressure จากชุดวัด Pitotless Nozzle เท่ากับ 74 PSI (ใช้ Nozzle 1-1/8 นิ้วร่วมกับชุด Little Hose Monster ในการวัด)

hose testing nfpa

การวิเคราะห์

Residual Pressure ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน วสท.3002-51 เนื่องจากมีค่ามากกว่า 65 PSI อัตราการไหลคำนวณตามวิธีการของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
P = 74 PSI
K = 37.2 (จากตารางด้านบน)
Q = 37.2√74

เท่ากับ 320 แกลลอนต่อนาที ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ตามพิกัดของสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้วจำนวน 1 เส้น ที่ต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 250 แกลลอนต่อนาที

อย่างไรก็ตาม ในการตรวจสอบระบบดับเพลิง เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าอัตราการไหลผ่านหัวฉีด Pitotless Nozzle ทางบริษัท Hose Monster ได้จัดทำตารางความสัมพันธ์ระหว่าง Velocity Pressure และ Flowrate ที่ได้จากการตรวจวัด โดยในตัวอย่างสามารถเปิดค่าจากตารางได้ค่าเท่ากับ 320 แกลลอนต่อนาทีซึ่งเท่ากับค่าที่ได้จากการคำนวณ ดังแสดงในภาพด้านล่าง

Pitot static tube

สรุป

การตรวจสอบระบบดับเพลิง เป็นแนวทางปฏิบัติที่ผู้รับผิดชอบและเจ้าของอาคาร ควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และมาตรฐานสากล NFPA และการตรวจสอบระบบดับเพลิงยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบ ซึ่งหากพบว่าอุปกรณ์ทำงานผิดปกติหรือชำรุดก็สามารถซ่อมแซมหรือแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบระบบดับเพลิงตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ยังทำให้เราสามารถยืนยันได้ว่า หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบดับเพลิงจะมีสมรรถนะที่ดีเพียงพอที่จะใช้ในการระงับเหตุเพลิงไหม้ได้

TOP